ผักเหลียง
ผักเหลียงเลี้ยงง่ายโตไว ไม่ชอบแดดโดยตรง ชอบรำไรหรือปลูกใต้ต้นไม้อื่น เติบโตได้ดีในร่มรำไร ผักเหลียง (Baegu) จัดเป็นผักเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ นิยมใช้ใบอ่อนประกอบอาหาร อาทิ ผัดผัดเหลียง แกงเหลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด ห่อหมก ลวกจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดคู่กับกับข้าว มีราคาขายอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ 80-100 บาท ลำต้น ผักเหลียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นทรงพุ่มเตี้ยๆ ลำต้นมีขนาด 10-30 มิลลิเมตร สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้น และกิ่งมีลักษณะเป็นข้อๆ ลำต้นแตกกิ่งแขนงมาก และแตกไหลออกด้านข้าง จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีเขียวเข้ม แต่ละกิ่งไม่มีการสลัดทิ้งกิ่ง ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งเปราะหักง่ายใบ ผักเหลียง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะใบคล้ายใบยางพารา ใบแตกออกที่ปลายกิ่งแขนง แตกออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะรี มีก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขนาดใบกว้างประมาณ 4 – 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบบาง แต่เหนียว ใบอ่อนมีสีแดงอมส้ม มีรสหวานมันดอก ผักเหลียงออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อดอกเป็นช่อดอกแบบเชิงลด มีความยาวช่อประมาณ 2-5 เซนติเมตร แยกออกเป็นต้นดอกช่อตัวผู้ และต้นดอกสมบูรณ์เพศแยกต้นกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ช่อดอกมีลักษณะเป็นข้อๆที่มีดอกตัวผู้เรียงล้อมข้อ ตัวดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอกสีขาว ส่วนต้นดอกสมบูรณ์เพศมีช่อดอกยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกต้นตัวผู้ ทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียเรียงล้อมบนข้อเหมือนต้นดอกตัวผู้ ประมาณ 7 – 10 ข้อ ทั้งนี้ ดอกผักเหลียงจะเริ่มออกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมผล ผลผักเหลียงออกรวมกันบนช่อ แต่ละช่อมีผลประมาณ 10-20 ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวย กว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร เปลือกผลค่อนข้างหนา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อผลมีรสหวาน ทั้งนี้ หลังออกดอก ดอกผักเหลียงจะเริ่มติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และผลสุกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และติดเริ่มติดผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี ขึ้นไป แต่การติดดอกออกผลจะไม่แน่นอน บางปีอาจไม่มีการติดดอกออกผล โดยเฉพาะปีที่ฝนตกชุกมากเมล็ด เมล็ดผักเหลียงมีรูปไข่หรือรูปกระสวย เปลือกหุ้มเมล็ดบาง และหนาเฉพาะบริเวณขั้วเมล็ด ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างงอกยาก และงอกช้าประโยชน์ผักเหลียง 1. ยอดผักเหลียง กรอบเมื่อรับประทานสด นุ่มเมื่อปรุงสุก มีรสชาติอร่อย หวานมัน นิยมรับประทานสดหรือใช้ประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ผัดใส่ไข่ แกงจืด แกงกะทิ และแกงไตปลา เป็นต้น. ผักเหลียงช่วยในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ช่วยชะลอการไหลซึมของน้ำ ช่วยให้หน้าดินชุ่มชื้นนาน ช่วยป้องกันไฟป่า ช่วยบำรุงดิน ป้องกันหน้าดินแข็ง เอื้อต่อการเติบโต และให้ผลผลิตของพืชหลักในแปลง . ช่วยเพิ่มรายได้ อาทิ การปลูกเหลียงแซมในสวนยาง สวนปาล์ม นอกจากจะได้รายได้จากสวนยางหรือปาล์มแล้ว ยอดผักเหลียงยังช่วยสร้างรายได้งามในแต่ละ